ตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเกาหลี
SWOTตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเกาหลี
สินค้าประเภทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเกาหลีใต้มีกำ แพงภาษีนำ เข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8 สำหรับสินค้าประเภทสิ่งทอและร้อยละ 13 สำหรับสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งภายใต้สาระสำคัญของความตกลงการเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน - เกาหลี (Trade in Goods : TIG) เกาหลีใต้ได้เปิดตลาดนี้โดยกำหนดการลด / ยกเลิกภาษีของสินค้าส่วนใหญ่ไว้ในกลุ่มสินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track : NT) ซึ่งจะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้โดยจะเริ่ม ลดภาษีจากอัตราภาษีฐานในปี 2005 มีเพียงสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มบางส่วนที่ถูกระบุอยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track : ST) ซึ่งเกาหลีใต้จะต้องลดภาษีของสินค้ากลุ่มนี้ลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ไม่ช้ากว่า วันที่ 1 มกราคม 2016 ซึ่งนอกจากการเปิดตลาดด้วยการให้สิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้าแล้ว สาระสำคัญของความตกลง AKFTA ยังกำ หนดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) สำหรับสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยให้สิทธิในการสะสมถิ่นกำเนิดอีกด้วย
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเกาหลีใต้เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศที่มีส่วนสำคัญสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ทศวรรษ มีองค์กรหลักของภาคเอกชน คือ สภาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Korea Federation of Textile Industries - KOFOTI) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2510 และให้ความสำคัญกำหนดให้มีวันสิ่งทอแห่งชาติมาเป็นเวลากว่า 10 ปี มีองค์กรภาคเอกชนปลีกย่อย สถาบันวิจัยและออกแบบ สหกรณ์และสมาคมการค้าแยกตามแต่ละประเภทสินค้า โดยประเภทสิ่งทอที่เกาหลีใต้ผลิต ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เส้นใยสังเคราะห์ เครื่องจักรและเคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จากข้อมูล World Trade Atlas เกาหลีใต้มีการส่งออกมากกว่าการนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมาโดยตลอด แต่ในขณะที่การส่งออกมีการเติบโตลดลง การนำเข้ากลับขยายตัวในอัตราที่สูงโดยในปี 2007 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไปทั่วโลกที่ 13,250.74 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอัตราการขยายตัวจากปี 2006 ที่ร้อยละ 1.85 ในขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 8,828.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอัตราการขยายตัวจากปี 2006 ที่ร้อยละ 10.58 นอกจากนี้สัดส่วนในการนำเข้าต่อการส่งออกยังมีเกณฑ์เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2 ต่อปีจากปี 2005 มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 34 ส่งออกร้อยละ 66 เป็นสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 40 ส่งออกร้อยละ 60 ในปี 2007 ในส่วนของการนำเข้านั้น การนำเข้าในกลุ่มสินค้าเครื่องนุ่งห่ม มีอัตราการขยายตัวที่สูงถึงร้อยละ 16.93 ในปี 2007 ในขณะที่สินค้าสิ่งทอขยายตัวเพียงร้อยละ 5.65
Strength ข้อได้เปรียบของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยในตลาดเกาหลีใต้
• ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน- สาธารณรัฐเกาหลี ได้เปิดโอกาสให้มีการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าประเภทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มระหว่างประเทศภาคีทำให้สร้างความได้เปรียบในการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ในขณะที่ประเทศไทยมีที่ตั้งเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและการตลาดของสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลดลง รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการส่งออกของผู้ผลิตภายในกลุ่มประเทศสมาชิกและไทยไปยังตลาดเกาหลีใต้มากขึ้น
• ตลาดสินค้าสิ่งทอในเกาหลีมีแนวโน้มการขยายตัวในการนำเข้าที่ดี จากข้อมูล Textile & Fashion Korea 2007 ระบุว่าธุรกิจเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้นิยมนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น สินค้าประเภทเส้นใย และเส้นด้าย ทำให้การผลิตในเกาหลีเองลดลงร้อยละ 16 ในปี 2006 และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2007 ซึ่งประเทศไทยติดอันดับประเทศ TOP 15 ในทุกประเภทสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มหลักที่เกาหลีใต้มีการนำเข้าจากต่างประเทศ
• จากข้อมูลของ Korea National Statistical Office (KNSO) ถึงตัวเลขการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตในประเทศเกาหลี พบว่า สินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่นและสินค้าแฟชั่นต่างๆ มีมูลค่าเป็นอันดับ 1 ที่ผู้บริโภคนิยมซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยในปี 2007 มีมูลค่าซื้อขายที่ 2,714 พันล้านวอน เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 17.21 ของมูลค่าการซื้อขายผ่านช่องทางนี้ทั้งหมด ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคของชาวเกาหลีใต้ดังกล่าว สามารถสร้างโอกาสและข้อได้เปรียบสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยได้ หากผู้ประกอบการมีการพัฒนาระบบซื้อ-ขายสินค้า เสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ นอกจากนี้ช่องทางดังกล่าว ยังเป็นการประหยัดต้นทุน ลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการ SMEs และสามารถเข้าถึงผู้
Weakness ข้อเสียเปรียบของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยในตลาดเกาหลีใต้
• การที่ไทยยังไม่ร่วมลงนามข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ทำให้สูญเสียความได้เปรียบในสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดภาษีการนำเข้าสินค้า ในขณะที่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียนได้รับสิทธิประโยชน์แล้ว
Opportunity โอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย
จากการยกเลิกภาษีสำหรับสิินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งการให้สิทธิในการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อนำสินค้าเข้าไปยังตลาดเกาหลีใต้ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้าอาเซียน - สาธารณรัฐเกาหลีข้างต้น อาจพิจารณาโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ดังนี้
• ผลจากการลดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็น 0 ทันทีที่มีผลบังคับใช้ หรือลดภาษีเป็น 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2008 เกือบทั้งหมด มีสินค้าเพียงบางส่วนที่ถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) โดยทางเกาหลีจะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2016 เป็นการเปิดโอกาสในการขยายอัตราการเติบโตของสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในตลาดเกาหลีใต้ ทั้งสินค้าหลักที่เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยและสินค้าประเภทอื่นๆในอุตสาหกรรม
• เพิ่มโอกาสในการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการ SMEs ไทย จากต้นทุนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบสิ่งทอจากเกาหลีใต้ลดลง เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศลำดับที่ 6 ที่ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบประเภทสิ่งทอถึงร้อยละ 90.75 ของการนำเข้าทั้งหมด
• เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ได้กระจายฐานกำลังการผลิตหรือขยายหุ้นส่วนเศรษฐกิจไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากสามารถใช้สิทธิในการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและการตลาดของสินค้าลดลงทำให้ศักยภาพการส่งออกของผู้ผลิตภายในกลุ่มประเทศสมาชิกมีมากขึ้น เช่น การร่วมมือกับประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบและการร่วมมือกับประเทศเวียดนามซึ่งเป็นแหล่งแรงงานที่มีอัตราค่าจ้างต่ำ
• เกิดแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs มีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต และการบริการ จากการแข่งขันภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมากยิ่งขึ้นโดยมีแนวโน้มว่าศูนย์กลางอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะปรับทิศทางสู่ทวีปเอเชียในที่สุด เพราะปัจจุบันกว่าร้อยละ 80 ของ Chemical Fiber และร้อยละ 75 ของการปั่นฝ้ายอยู่ในประเทศแถบเอเชีย โดยตลาดในแถบเอเชียมีการผลิตและขายกันเองภายในภูมิภาคเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการมีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆ
จากการศึกษาข้อมูล World Trade Atlas ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเอเซีย ซึ่งหากวิเคราะห์ประเทศที่เป็นคู่แข่งกับไทย จะพบว่าประเทศคู่แข่งขันที่มีศักยภาพในตลาดเกาหลีสูงที่สุด คือประเทศจีน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ในทุกรายการสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่เกาหลีใต้นำเข้า รองมาเป็นอิตาลี และญี่ปุ่น ในขณะที่คู่แข่งสำ คัญในอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาสินค้าส่งออกในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังตลาดเกาหลีใต้ รายสินค้าที่สร้างมูลค่าการส่งออกให้ก้ บั ผปู้ ระกอบการไทยอย่า่งเด่นชัดในหมวดสินค้าสิ่งทอ ได้แก่ สินค้าประเภทฝ้าย มีสัดส่วนการนำเข้าของเกาหลีจากไทยที่ร้อยละ 18.0 จากการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด และสินค้าประเภทเส้นใยสั้นประดิษฐ์ มีสัดส่วนการนำเข้าถึงร้อยละ 31.0 ทั้งนี้ สินค้าสิ่งทอทั้ง 2 ประเภท ยังเป็นสินค้าที่ตลาดเกาหลีใต้มีความต้องการในอันดับสูงอีกด้วย สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่มทั้ง 2 ประเภท (Knit Apparel / Woven Apparel) เกาหลีใต้มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่ารองจากสินค้าสิ่งทอทั้ง 2 ประเภทข้างต้น โดยในปี 2007 เกาหลีใต้นำเข้าสินค้าเครื่องนุ่งห่มจากไทยเป็นมูลค่า 19.50 ล้านเหรียญสหรัฐ
อาจกล่าวได้ว่า สินค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยที่เข้าไปยังตลาดเกาหลีใต้ แบ่งเป็นสินค้า 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ สินค้าวัตถุดิบในรูปของสิ่งทอ (ฝ้ายและเส้นใยสั้นประดิษฐ์) และสินค้าเครื่องนุ่งห่มในรูปของเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยสินค้าดังกล่าว มีคู่แข่งที่สำคัญนอกอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อิตาลี ในขณะที่คู่แข่งสำคัญในอาเซียนด้วยกัน ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และสิงค์โปร์
Threat• อุปสรรคที่สำคัญอีกประการในทำธุรกิจในตลาดเกาหลีใต้ คือ ภาษา เนื่องจากปัจจุบันชาวเกาหลีส่วนใหญ่ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย และข้อมูลในหน่วยงานต่างๆ ของเกาหลีส่วนใหญ่เป็นภาษาเกาหลี ดังนั้น การหาข้อมูลของผู้ประกอบการค่อนข้างลำบาก
บริโภคได้โดยตรงอีกด้วย
เนื้อหาเยอะได้อีก เยี่ยมมาก - = -
ตอบลบ